ค่ายวิชาการมนุษยศาสตร์ (Humanities Camp) ประจำปี พ.ศ. 2565 ระหว่างวันที่ 29 มีนาคม – 1 เมษายน 2565

  • By: Admin
images description

การจัดโครงการค่ายวิชาการมนุษยศาสตร์ (Humanities Camp) ประจำปี .. 2565 มีกำหนดจัดกิจกรรมระหว่างวันอังคารที่ 29 มีนาคมวันพฤหัสบดีที่ 1 เมษายน 2565 โดยมีนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 ทั่วประเทศไทยที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมดจำนวน 63 ราย โดยได้รับความร่วมมือในการดำเนินโครงการจาก คณะมนุษยศาสตร์ คณาจารย์ สโมสรนักศึกษาปี 2564 และ 2565 รวมถึงบุคลากรทุกฝ่าย

โครงการเริ่มจัดขึ้นในวันพฤหัสบดี ที่ 29 มีนาคม 2565 โดยมี ผศ.ดร. ระวี จันทร์ส่อง คณบดีณะมนุษยศาสตร์ เป็นประธานกล่าวเปิดงานต้อนรับนักเรียน และ กล่าวให้โอวาทข้อคิดแก่นักเรียนที่ได้รับคัดเลือก สำหรับกิจกรรมในวันแรกนั้น ช่วงเช้าเริ่มด้วยกิจกรรมละลายพฤติกรรม จากนั้นเป็นการบรรยายเสวนาภาษามนุษย์ ในหัวข้อหลากหลาย แตกต่าง อย่างมนุษย์กิจกรรมในช่วงบ่าย คือ กิจกรรมประจำฐานการเรียนรู้เพราะเป็นมนุษย์จึงต้องเรียนรู้แบ่งออกเป็น 4 ฐานการเรียนรู้ 

วันที่สองช่วงเช้า กิจกรรม ชวนพูด ชวนคุย ชวนคิด เรื่องศาสตร์มนุษย์-มนุษยศาสตร์โดย วิทยากรรับเชิญได้แก่ นางสาวพัทธนันท์ ธงทอง (พี่เมย์) ศิษย์เก่า สาขาวิชาภาษาไทย รหัส 42 และ นางสาวภัทรานิษฐ์ ศรีจันดร (พี่น้ำตาล) ศิษย์เก่า สาขาวิชาประวัติศาสตร์ รหัส 47 ช่วงบ่ายกิจกรรม "Walk with Love, Learn, and Laugh" กิจกรรม “Walk rally + Workshop” 

วันที่สาม ช่วงเช้ากิจกรรมภาคปฏิบัติหลากหลาย แตกต่าง อย่างมนุษย์ซึ่งดำเนินโดย สโมสรนักศึกษา ปี 2564 และ2565 ในการแนะนำแนวทางการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี เพื่อเป็นทางเลือกและแนวทางให้แก่น้องๆ และมอบหมายให้น้อง นักเรียนได้ทำงานกลุ่มในหัวข้อน้อง ได้อะไรจากการมาค่ายในครั้งนี้ ?” โดยให้ทำคลิปวิดีโอความยาว 3 – 5 นาที 

วันที่สี่ ช่วงเช้ากิจกรรมการนำเสนอ ประกวดผลงานกลุ่ม ซึ่งเป็นการนำเสนอคลิปวิดีโอที่น้อง นักเรียนได้จัดทำกันอย่างเต็มที่ โดยการตัดสินคะแนนจากคลิปวิดีโอในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร. พศุตม์ ลาศุขะรองคณบดีฝ่ายยุทธศาสตร์การศึกษาเชิงรุก ผศ. ระพี แสงสาคร รองคณบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพนักศึกษาและนักศึกษาเก่าสัมพันธ์ และอ.ดร. ศุภวัจน์ แต่รุ่งเรือง อาจารย์ประจำภาควาภาษาไทย เป็นกรรมการตัดสินคะแนน โดยผลโหวตคะแนนแต่ละกลุ่ม ประกอบด้วย


1. The Best Presentation Techniques Award ได้แก่ กลุ่มที่ 1

2. The Best Creative Award ได้แก่ กลุ่มที่ 5

3. The Best Teamwork Award ได้แก่ กลุ่มที่ 2

4. The Best Innovation Award ได้แก่ กลุ่มที่ 4

5. The Best Performance Award ได้แก่ กลุ่มที่ 6

6. The Best Content Award ได้แก่ กลุ่มที่ 7

7. Popular Vote Award ได้แก่ กลุ่มที่ 3


ซึ่งการจัดทำคลิปวิดีโอของแต่ละกลุ่มนั้น มีการวางแผน การทำงานเป็นทีม รวมถึงการใช้ทักษะที่ดีเยี่ยม โดยสื่อสารเนื้อหาออกมาได้ดี เข้าใจง่าย รวมถึงสามาถเผยแพร่ และนำเสนอได้อย่างดีเยี่ยม ในส่วนของพิธีปิด ได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร. พศุตม์ ลาศุขะ รองคณบดีฝ่ายยุทธศาสตร์การศึกษาเชิงรุก เป็นประธานกล่าวพิธีปิด กล่าวชื่นชมการเข้าร่วมกิจกรรมตลอด 4 วันของน้อง

การจัดประชุมครั้งนี้บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์อย่างครบถ้วน และได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลาการ รวมถึงนักศึกษาทุกท่าน รวมทั้งการประสานงาน การอำนวยความสะดวกจากฝ่ายต่างๆ เพื่อพัฒนากิจกรรมให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ในครั้งต่อไป


ขอขอบพระคุณผู้สนับสนุนใจดีในการสนับสนุนกิจกรรมดี ในครั้งนี้ ได้แก่

- สมาคมนักศึกษาเก่าคณะมนุษยศาสตร์ มช

- ชมรมนักศึกษาเก่าคณะมนุษยศาสตร์ มช (กรุงเทพมหานคร)

- สำนักทรัพย์สินมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

- ศูนย์ปฏิบัติการเภสัชชุมชน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

- ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

- Unilever Thailand

- ไอศกรีม Wall’s Thailand

- บริษัท แลคตาซอย จำกัด

- บริษัท ดั๊บเบิ้ล เอ (1991) จํากัด (มหาชน)

- บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด

- Eng Now (สอนภาษาอังกฤษออนไลน์)

- Indesign (ผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ จังหวัดเชียงใหม่)