ยุทธศาสตร์เชิงรุก
ยุทธศาสตร์ที่ 1 : นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงาน (Environment and Energy Innovation)
เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ : เป็นคณะที่ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์ที่ 2 : นวัตกรรมด้านอาหาร สุขภาพ และผู้สูงอายุ (Food, Health, and Aging Innovation)
เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ : สร้างนวัตกรรมด้านอาหาร สุขภาพ ระบบการจัดการ และการดูแลสังคมผู้สูงอายุโดยใช้องค์ความรู้ด้านมนุษยศาสตร์
ยุทธศาสตร์ที่ 3 : นวัตกรรมล้านนา (Lanna Innovation)
เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ : พัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านล้านนา และสร้างนวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
ยุทธศาสตร์ตามพันธกิจ
ยุทธศาสตร์ที่ 4 : ผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรม คุณภาพ และทักษะการเป็นพลเมืองโลก (Global citizen skills)
เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ : ยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนระดับสากล
ยุทธศาสตร์ที่ 5 : วิจัยเพื่อความเป็นเลิศและนวัตกรรม
เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ : ผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ สามารถพัฒนาเป็นนวัตกรรมและใช้ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ
ยุทธศาสตร์ที่ 6 : บริการวิชาการที่เกิดประโยชน์แก่สังคม
เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ : บริการวิชาการที่เกิดประโยชน์แก่สังคมโดยใช้ศักยภาพของคณะมนุษยศาสตร์และเครือข่าย
ยุทธศาสตร์ที่ 7 : บริหารจัดการเชิงบูรณาการ
เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ : บริหารงานและทรัพยากรร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ และพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
พันธกิจ
1. จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาและวิชาชีพชั้นสูงในระดับสากล มุ่งเน้นคุณธรรมและความเป็นเลิศด้านมนุษยศาสตร์ ภาษา วัฒนธรรม และการท่องเที่ยว
2. ผลิตงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการสร้างองค์ความรู้ และนำไปพัฒนาการเรียนการสอน และเพิ่มความเข้มแข็งให้แก่ท้องถิ่น ประเทศชาติ และสังคมโลกโดยมุ่งเน้นการทำวิจัยทั้งแบบสายตรง และแบบบูรณาการ
3. บริการวิชาการด้านมนุษยศาสตร์ ภาษา วัฒนธรรม การท่องเที่ยว ตามความต้องการของสังคม
4. ทำนุบำรุงและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมล้านนา ท้องถิ่นไทย กลุ่มชาติพันธุ์ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ และเข้าใจความหลากหลายทางวัฒนธรรม สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างดี และอนุรักษ์ทรัพยากรและพัฒนาสิ่งแวดล้อม
5. พัฒนาความสัมพันธ์และความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันวิชาการทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศในภูมิภาคอาเซียน
6. พัฒนาการบริหารจัดการที่ดี มีประสิทธิภาพ โปร่งใส พึ่งพาตนเองได้ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง