สาขาวิชาภารตวิทยา

images

ข่าวกิจกรรม

พิธีมอบทุนการศึกษาจากสมาคมคีตาอาศรมแห่งประเทศไทย
images

ข่าวกิจกรรม

พิธีมอบทุนการศึกษาจากสมาคมคีตาอาศรมแห่งประเทศไทย
images

ข่าวกิจกรรม

พิธีมอบทุนการศึกษาสมาคมคีตาอาศรมแห่งประเทศไทย

ประวัติความเป็นมา

-อยู่ระหว่างดำเนินการ-

แนะนำหน่วยงาน

-อยู่ระหว่างดำเนินการ-

การเรียนการสอน

-อยู่ระหว่างดำเนินการ-

โอกาสในการทำงาน

-อยู่ระหว่างดำเนินการ-

ติดต่อ

-อยู่ระหว่างดำเนินการ-

ประวัติความเป็นมา

คณะมนุษยศาสตร์ก่อตั้งขึ้นพร้อมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2507 เริ่มแรกเปิดสอน 4 ภาควิชา คือ ภาควิชาภาษาไทย ภาควิชาประวัติศาสตร์ ภาควิชาภาษาปัจจุบันต่างประเทศ และภาควิชามนุษยสัมพันธ์ กล่าวเฉพาะภาควิชาภาษาไทย นอกจากจะมีกระบวนวิชาภาษาไทยแล้วยังมีกระบวนวิชาภาษาบาลีและสันสกฤตอยู่ในหลักสูตร 
      ช่วงปีพ.ศ. 2519-2523 คณะมนุษยศาสตร์ ได้ให้ความสำคัญด้านวิชาการที่เกี่ยวกับศาสตร์ต่างๆ ของอินเดีย เช่น ศาสนา ปรัชญา วัฒนธรรม ภาษา และอื่นๆ มีการแลกเปลี่ยนอาจารย์กับสถาบันการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยในอินเดีย ช่วงเวลานี้เองได้มีการเปิดกระบวนวิชาภาษาฮินดีขึ้น อย่างไรก็ดี ในช่วงแรกยังไม่มีการเรียนการสอน 
      จนกระทั่งในปี พศ. 2539 ดร.กำชัย อนันตสุข อาจารย์ประจำสังกัดภาควิชาภาษาไทย ซึ่งมีหน้าที่สอนกระบวนวิชาภาษาสันสกฤต มีความเห็นว่าควรมีการเรียนการสอนภาษาฮินดีไปพร้อมๆ กับภาษาบาลีและสันสกฤต เพราะจะทำให้เข้าใจเรื่องราวที่เกี่ยวกับอินเดียทั้งในอดีตและปัจจุบัน ดังนั้น การเรียนการสอนภาษาฮินดีจึงเริ่มขึ้นตั้งแต่บัดนั้น 
      ในปี พศ. 2543 คณะมนุษยศาสตร์ได้พิจารณาให้ตั้งสาขาวิชาใหม่ โดยนำกระบวนวิชาภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต และภาษาฮินดี มาเปิดเป็นหลักสูตรวิชาโท คือ วิชาโทภาษาบาลี วิชาโทภาษาสันสกฤต และวิชาโทภาษาฮินดี และตั้งชื่อสาขาวิชาว่า “สาขาวิชาภาษาบาลี-สันสกฤต-ฮินดี” สังกัดโครงการจัดตั้งภาควิชาภาษาตะวันออก ซึ่งปัจจุบันคือภาควิชาภาษาตะวันออก

แนะนำหน่วยงาน

สาขาวิชาฯ มีจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถด้านภาษา วรรณคดี และความเข้าใจในวัฒนธรรม ตลอดจนสามารถนำความรู้ไปประกอบสัมมาอาชีพ และเป็นแนวทางการศึกษาในระดับสูงต่อไป ปัจจุบันสาขาวิชาฯ เปิดทำการเรียนการสอน 3 วิชาคือ ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต และภาษาฮินดี 
      ภาษาฮินดีเป็นหนึ่งในภาษาที่มีผู้ใช้มากที่สุดในโลก เป็นภาษาราชการของอินเดีย และเป็นภาษาที่ใช้สื่อสารกันทั่วไปของประเทศในแถบเอเชียใต้ เช่น ปากีสถาน เนปาล บังคลาเทศ เป็นต้น โดยเฉพาะประเทศอินเดียที่ในปัจจุบันมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ค่อนข้างสูง และยังเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลกอันดับ 2 รองจากประเทศจีน ทำให้ภาษาฮินดีมีความสำคัญต่อการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลกมากขึ้นเรื่อยๆ 
      ภาษาบาลีและสันสกฤตนั้นมีความสัมพันธ์กับภาษาไทยมาตั้งแต่โบราณ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเล่าถึงวิธีการ และประโยชน์ของการศึกษาภาษาบาลีและสันสกฤต ไว้ว่า 
      “...การเรียนภาษาบาลีสันสกฤตนั้น เราไม่ได้เรียนแต่ตัวอักษรอย่างเดียว เราเรียนเนื้อหาด้วย เรียนภาษาบาลีก็ได้เรียนรู้เรื่องราวแนวคิดทางพุทธศาสนา สันสกฤตก็ได้เรียนเรื่องวัฒนธรรม ของผู้ที่ใช้ภาษาสันสกฤต มีเนื้อหาต่างๆ กัน ได้ความรู้ หลักปรัชญา สังคม การเมือง กฎหมาย ศิลปะ คณิตศาสตร์ ฯลฯ ของสมัยนั้น บางทีก็ทำให้รู้ว่า แนวคิดบางอย่าง ที่ถือว่าเป็นสมัยใหม่นั้น ที่จริงได้มีมาแล้ว และเขาเลิกไปแล้ว ประโยชน์สำคัญอีกประการ ที่ได้จากการเรียนบาลีสันสกฤต คือ ได้พบปะเสวนากับครูบาอาจารย์หลายท่าน ที่ทรงคุณธรรม เป็นผู้ใหญ่ที่ควรเคารพ ท่านเหล่านี้ นอกจากจะสอนวิชาการแล้ว ยังชี้ทางชีวิตที่ถูกต้อง เช่น เรื่องความซื่อตรง เรื่องความเมตตา เป็นต้น ถือเป็นมงคลอันอุดม ในการได้เสวนากับบัณฑิต...”

การเรียนการสอน

สาขาวิชาภาษาบาลี-สันสกฤต-ฮินดี เปิดสอนกระบวนวิชาต่างๆ ในฐานะวิชาโท 3 กลุ่มวิชา ได้แก่ วิชาโทภาษาบาลี วิชาโทภาษาสันสกฤต และวิชาโทภาษาฮินดี นอกจากนี้ยังเปิดสอนกระบวนวิชาต่างๆ ในฐานะวิชาภาษาต่างประเทศ และวิชาเลือกเสรี 
      ในปี พ.ศ. 2560 สาขาวิชาฯ ได้รวมวิชาโทภาษาบาลี และวิชาโทภาษาสันสกฤต เป็นวิชาโทเดียวกันชื่อว่า “วิชาโทภาษาบาลีสันสกฤต” เพราะเห็นว่าวิชาทั้ง 2 มีลักษณะร่วมทางภาษาหลายประการและมีอิทธิพลต่อภาษาไทยอย่างมาก การเรียนรู้ทั้งสองภาษาจะทำให้นักศึกษามีความเข้าใจภาษาและวัฒนธรรมลึกซึ้งยิ่งขึ้น อันจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาภาษาไทยและศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นไป ปัจจุบันสาขาวิชาฯ มี 2 กลุ่มวิชาคือ วิชาโทภาษาบาลีสันสกฤต และวิชาโทภาษาฮินดี มีกระบวนวิชาที่เปิดสอนดังนี้ 

วิชาภาษาบาลี มีทั้งหมด 7 กระบวนวิชา ดังนี้
รหัสชื่อวิชา (TH)ชื่อวิชา (EN)เงื่อนไขที่ต้องผ่านก่อน
015101บาลีขั้นต้น 1Beginning Pali 1ไม่มี
015102บาลีขั้นต้น 2Beginning Pali 2015101
015201บาลีขั้นกลางIntermediate Pali015102
015231ประวัติวรรณคดีบาลีHistory of Pali Literatureไม่มี
015232ธรรมบทศึกษาDhammapada study015102
015233ชาดกศึกษาJataka study015102
015301บาลีขั้นสูงAdvanced Pali015201


วิชาภาษาสันสกฤต มีทั้งหมด 7 กระบวนวิชา ดังนี้
รหัสชื่อวิชา (TH)ชื่อวิชา (EN)เงื่อนไขที่ต้องผ่านก่อน
016101สันสกฤตขั้นต้น 1Beginning Sanskrit 1ไม่มี
016102สันสกฤตขั้นต้น 2Beginning Sanskrit 2016101
016201สันสกฤตขั้นกลางIntermediate Sanskrit016102
016231ประวัติวรรณคดีสันสกฤตHistory of Sanskrit Literatureไม่มี
016232นิทานสันสกฤตSanskrit Fables and Tales016102
016233มหากาพย์สันสกฤตSanskrit Epics016102
016301สันสกฤตขั้นสูงAdvanced Sanskrit016201


วิชาภาษาฮินดี มีทั้งหมด 8 กระบวนวิชา ดังนี้
รหัสชื่อวิชา (TH)ชื่อวิชา (EN)เงื่อนไขที่ต้องผ่านก่อน
017101ฮินดีขั้นต้น 1Beginning Hindi 1ไม่มี
017102ฮินดีขั้นต้น 2Beginning Hindi 2017101
017111สนทนาภาษาฮินดี 1Hindi Conversation 1ไม่มี
017112สนทนาภาษาฮินดี 2Hindi Conversation 2017111
017201ฮินดีขั้นกลางIntermediate Hindi017102
017210ฮินดีสำหรับนักท่องเที่ยวHindi for tourist017101
017231ภาษาฮินดีในข่าวHindi in news017102
017301ฮินดีขั้นสูงAdvanced Hindi017201

โอกาสในการทำงาน

สามารถประกอบอาชีพได้อย่างกว้างขวาง เช่น ครูสอนภาษา นักเขียน ล่าม มัคคุเทศก์ งานฝ่ายต่างประเทศในกระทรวง ทบวง กรมและบริษัท เป็นต้น

ติดต่อ

ตึก HB2 สาขาวิชาภาษาบาลี-สันสกฤต-ฮินดี ภาควิชาภาษาตะวันออก 
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
Facebook: สาขาวิชาภาษาบาลี-สันสกฤต-ฮินดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่